วินิจฉัยคำสถาปนา ราชินีเอลซ่า

Posted on Updated on

ในภาพยนต์แอนิเมชันเรื่อง Frozen หลังจากที่เอลซ่าได้รับสวมมงกุฎ และได้ถือ ออร์บ กับ คทา หันมาแสดงในที่พิธี ในบทภาพยนต์ภาษาอังกฤษ บิชอปได้กล่าวคำเป็นภาษานอร์สโบราณ(Old Norse)เพื่อสถาปนาราชินีว่า…

elsa-coronation

Sem hon heldr inum helgum eignum
ok krýnd í þessum helga stað
ek té fram fyrir yðr …
Queen Elsa of Arendelle!

คำอ่าน

เซ็ม ฮอน เฮลดรึ อินนุม เฮลกุม ไอกนุม
โอก ครยูนด์ อี เธสซุม เฮลกา สตาธ
เอ็ค เท ฟราม ฟยุเรียร์ อยุดรึ
ควีน เอลซา ออฟ แอเรนเดล!

คำแปล

As she holds the holy properties
and is crowned in this holy place.
I present to you …
Queen Elsa of Arendelle!

เว็บที่มาของบทภาษานอร์สโบราณและคำแปลในภาษาอังกฤษ

ส่วนบทภาษาไทย ตรงท่อนนี้ไม่มีการกล่าวคำภาษาโบราณแต่อย่างใด กล่าวแต่คำแปลเพียงว่า

โดยอ้างอิงถึงพระราชกฎหมาย
แห่งการสถาปนาขึ้นปกครองประเทศแห่งนี้
บัดนี้ข้าพเจ้าขอสถาปนา
ราชินีเอลซ่าแห่งแอเรนเดลล์!

ซึ่งก็ให้ความหมายใกล้เคียงกับบทภาษาอังกฤษดีแม้จะไม่ตรงนัก

และบทเดียวกันนี้ในหนังสือ Frozen Junior Novelization ก็เขียนแปลกไปอีกอย่างหนึ่งดังนี้

As the undoubted queen, protector of this dominion,
keeper of the doctrine and government
thereof from this day forward, I present to you
Her Majesty Queen Elsa of Arendelle!

ภาษานอร์สโบราณ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบล็อกนี้ต้องการเสนอมุมมองทางภาษาศาสตร์ เลยจะขอมาวินิจฉัยไวยากรณ์ภาษานอร์สโบราณตามบทภาพยนต์ภาษาอังกฤษกันเพื่อความบันเทิง(ของผู้เขียน) ดังนี้

บรรทัดที่ 1
sem เป็นสันธานแปลได้ว่า as
hon เป็นสรรพนามบุรุษที่สาม เพศหญิง เอกพจน์ และกรรตุการก (nominative) หรือแปลง่ายๆ ว่า she
heldr มาจากกริยา halda แปลว่า hold ในที่นี้เป็นของบุรุษที่สาม เอกพจน์ กาลปัจจุบัน จะผันเป็น heldr
inum เป็นคำหน้านามชี้เฉพาะหรือก็คือ the ซึ่งในที่นี้ได้ผันเพื่อใช้สำหรับเพศหญิง พหูพจน์ และสัมปทานการก (dative) ของคำว่า eignum ที่อยู่ถัดไป
helgum จากคำวิเศษณ์ helg- ที่แปลว่า holy ในที่นี้เป็นเพศหญิง พหูพจน์ และสัปทานการก เพื่อขยายคำว่า eignum เช่นกัน
eignum มาจากคำนาม eign แปลว่า property เป็นคำเพศหญิง ในที่นี้หมายถึงกกุธภัณฑ์หรือ regalia อันได้แก่ Orb และ Sceptre จึงเป็นพหูพจน์ และเป็นสัมปทานการก

บรรทัดที่ 2
ok เป็นสันธานแปลว่า and
krýnd เข้าใจว่ามาจากคำกริยา krúna แปลว่า to crown (อ่านที่มา) คำนี้น่าสนใจหน่อยคือเป็น passive voice ซึ่งต้องทำกริยาให้เป็น past participle ซึ่งอาจจะเป็น krúnað (ดูเพิ่ม) จากนั้นเมื่อนำมาใช้กับบุรุษที่สาม เอกพจน์ จึงกลายเป็น krýnð หรือ krýnd ในที่สุด
í เป็นบุพบทแปลว่า in ใช้กับสัมปทานการก
þessum ก็คือคำนำหน้านาม this ในที่นี้เป็นเพศชาย เอกพจน์ และสัมปทานการก เพราะชี้คำว่า stað ที่อยู่ถัดไป
helga คือคำว่า helg- อีกเช่นกัน แต่ผันเป็นเพศชาย เอกพจน์
stað มาจากคำนาม staðr แปลว่า place เป็นเพศชาย ในที่นี้เป็นเอกพจน์และสัมปทานการก

บรรทัดที่ 3
ek สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง ก็คือฉันหรือ I นั่นแหละ และเป็นกรรตุการก
เข้าใจว่ามาจากคำกริยา téa แปลว่า show ผันใช้สำหรับประธานบุรุษที่หนึ่ง เอกพจน์ กาลปัจจุบัน
fram เป็นกริยาวิเศษณ์ แปลว่า forward ขยาย té
fyrir เป็นบุพบทแปลว่า before หรือเบื้องหน้า
yðr สรรพนามบุรุษที่สอง พหูพจน์ และสัมปทานการก คือ you you ทั้งหลายที่มาเป็นสักขีพยานในที่นี้

จบการวินิจฉัยไวยากรณ์ภาษานอร์สโบราณสามบรรทัด ส่วนบรรทัดที่สี่เป็นภาษาอังกฤษธรรมดาครับ

2 thoughts on “วินิจฉัยคำสถาปนา ราชินีเอลซ่า

    […] คงจะฟังดูขลังไม่น้อย ท้าวความถึงบทภาษานอร์สโบราณ […]

      Niranama said:
      16 January 2020 at 21:28

      โดยอาศัยอำนาจแห่งนิติราชประเพณี
      ในการราชาภิเษกขึ้นปกครองขอบขัณฑสีมาอันวิเศษนี้
      ข้าพระพุทธเจ้าขอสถาปนา
      พระนางเจ้าเอลซ่าแห่งแอเรนเดล์!
      ลองแปลงในส่วนภาษาไทยเล่นๆ ถ้าความมายผิดไปไกลขออภัยด้วยครับ

Leave a reply to แต่งคำสถาปนาราชินีเอลซ่าเป็นภาษาบาลี « Panya's Blog: Linguistic Aspects Cancel reply